บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ความจริงของนิวตัน


นักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดทั้งปวงที่เคยมีมา และที่จะมีต่อไป ในภายภาคหน้านั้น เขาต้องการจะศึกษา “ปรากฏการณ์ของโลก” ที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน  ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องการหา “ความจริง” ของโลกมนุษย์

คำว่า “ความจริงของนิวตัน” นั้น ผมต้องการหมายถึง การค้นความจริงของวิทยาศาสตร์ในยุคของนิวตัน ซึ่งมีการเรียกชื่อกันในชื่ออื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน เป็นต้น

ถ้าผมใช้คำว่า “วิทยาศาสตร์เก่า”, “วิทยาศาสตร์แบบนิวตัน”, วิทยาศาสตร์แบบกลไกแยกส่วน/ลดทอน” ก็หมายถึงวิทยาศาสตร์ในยุคเดียวกัน คือ ยุคของนิวตันนี้

ความจริงของวิทยาศาสตร์ในยุคของนิวตันนั้น  ต้องมีลักษณะอย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้

1) ต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
2) ต้องมีความสมเหตุสมผล
3) ต้องไม่ลำเอียง

1) ต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

ความจริงของนิวตันนั้น ต้องสามารถสัมผัส โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้น  ในกรณีนี้ หมายความรวมถึง การรับรู้ด้วยเครื่องมือในทางวิทยาศาสตร์ด้วย

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย  ถ้าสิ่งใดไม่สามารถสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5  นักวิทยาศาสตร์ก็จะเห็นว่า สิ่งนั้นไม่มีจริง

ดังนั้น  เมื่อเราถกเถียงกับบุคคลที่เชื่อวิทยาศาสตร์ และเชื่อมากกว่าศาสนานั้น เราก็มักจะพบคำโต้แย้งที่ว่า ผีไม่มีจริง  ถ้าผีมีจริง เราทำไมจึงไม่เห็น เป็นต้น  

บางคนถึงกลับท้าให้ผีมาหาภายในคืนนี้ คืนนั้นก็ยังมี

2) ต้องมีความสมเหตุสมผล

ปรัชญาตะวันตกกับวิทยาศาสตร์นั้น วิธีหาความรู้ของเขาต้องมีเหตุผลตามระบบตรรกวิทยาด้วย  ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ นิรนัยกับอุปนัย

ความรู้ในทางตรรกวิทยา จะต้องเป็นแบบนี้ คือ เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดๆ อยู่ก่อนส่วนหนึ่ง  แล้วใช้ความคิด ทดลอง พิสูจน์จากพื้นฐานความรู้นั้นๆ  ไปหาความรู้ใหม่ขึ้นมา

ไม่มีความรู้ใดๆ จะโผล่ออกมาโดยไม่มีความรู้พื้นฐานมาก่อน

ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างที่ 1
เราเกิดมาแล้ว เติบโตมาเรื่อยๆ ก็เห็นปู่ ย่า ตา ยาย ญาติทั้งหลายค่อยๆ ทยอยตายกันไปเรื่อย  เราก็รู้ “คนทุกคนต้องตาย” แน่ๆ  ยังไม่เห็นมีใครสักคนที่ไม่ตาย

เราเองก็เป็นคนๆ หนึ่ง  ดังนั้น เราก็ต้องตาย เพื่อนก็ต้องตาย ตายกันหมด อย่างนี้ เขาเรียกตรรกวิทยาแบบนิรนัย

ตรรกวิทยาแบบนี้ ไม่สามารถที่จะให้ความรู้ใหม่เกิดขึ้นมาได้  ได้แต่พัฒนาความรู้เก่าๆ นั้น ดัดแปลง พัฒนาเอาไปใช้ประโยชน์

ตัวอย่างที่ 2

บ้านผมอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  เห็นของลอยน้ำมาโดยตลอด  และเห็นว่า ไม้ก็ลอยตามน้ำมา ดังนั้น ผมก็จึงรู้ว่า “ไม้ลอยน้ำ  อย่างนี้ เขาเรียกตรรกวิทยาแบบอุปนัย

ตรรกวิทยาแบบนิรนัยนั้น  เป็นจริงแท้แน่นอนไม่แปรเปลี่ยน  แต่ตรรกวิทยาแบบอุปนัยนั้น อาจจะเปลี่ยนได้

ในกรณีของไม้ลอยน้ำนั้น  ผมไม่สามารถไปสังเกตต้นไม้ทุกต้นในโลกนี้ว่า ลอยน้ำได้ทั้งหมดหรือไม่  เมื่อไหร่ก็ตาม ผมพบว่า มีไม้บางชนิดไม่ลอยน้ำ  ความรู้ที่ว่า “ไม้ลอยน้ำ” ก็ต้องแกไขกันใหม่

ตรรกวิทยาแบบอุปนัยนี้ สามารถให้ความรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา วิทยาศาสตร์ก็ใช้ตรรกวิทยาแบบนี้ เป็นเครื่องมือค้นคว้าหาความรู้มาพัฒนาโลก  ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะโลกพัฒนาไปในทางด้านวัตถุก็เพราะความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์นี่แหละ

แต่ก็อย่าลืมเป็นอันขาดว่า วิทยาศาสตร์นั้น ในเมื่อเป็นตรรกวิทยาแบบอุปนัย จึงสามารถผิดได้ จึงสามารถมีข้อบกพร่องได้  ไม่ใช่ความจริงแท้แน่นอน

3) ต้องไม่ลำเอียง

คำว่า “ลำเอียง” ข้างต้น ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ลำเอียงรักลูกไม่เท่ากัน หรือหัวหน้าลำเอียง ไม่มีความยุติธรรมในการบริหารงาน

ข้อความที่ว่า “ต้องไม่ลำเอียง” นั้น  ในทางวิชาการเขาใช้คำว่า ปลอดค่านิยม (Value free)

ความจริงของนิวตันนั้น  นักวิทยาศาสตร์เขาคิดว่า ความจริงเป็นสิ่งๆ หนึ่งที่ลอยอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลใดๆ  ความจริงนี้ ไม่ว่าใครจะมาศึกษาก็ต้องได้ผลเป็นความจริงเหมือนกัน

ถ้าพูดให้เป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ก็คือ กฎต่างๆ ทางฟิสิกส์เป็นจริงโดยวัตถุวิสัย (exist objective) โดยไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับนักวิทยาศาสตร์

กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งคือ กฎต่างๆ ทางฟิสิกส์ไม่ได้เป็นจริงเพราะอัตตวิสัย (subjectively) จากการสังเกตการณ์ของนักวิทยาศาสตร์

ยกตัวอย่างเช่น  น้ำเดือดเมื่อความร้อนเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส ไม่ว่าใครจะศึกษา หรือใครจะมาต้มน้ำ ก็ต้องได้ความรู้แบบนี้

ความรู้ใดๆ ที่ผู้ศึกษาเอาตัวไปเกี่ยวข้องด้วย  ความจริงแบบนั้นก็ลำเอียง เป็นความจริงที่ใช้ไม่ได้

นักวิทยาศาสตร์ในยุคนิวตันนี้ เห็นว่า “ความจริง” เหมือนกัน “สิ่งๆ หนึ่ง” ที่ลอยตัวอยู่บนฟ้า ใครจะมาศึกษา ใครจะมาสังเกตการณ์ต้องได้ผลการศึกษาเหมือนเดิม

การศึกษาใดๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เอาตัวเข้าไปพัวพัน เป็นการศึกษาที่ใช่ไม่ได้ เป็นการศึกษาที่ลำเอียง

ความจริงของนิวตันทั้งหมดนี้นี่แหละ ที่โค่นความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์มีจริงของศาสนาพุทธไปจนหมด เพราะ ไม่เข้าเกณฑ์ใดๆ ของนิวตันเลย

อันที่จริงแล้ว นิวตัน ไอน์สไตน์ หรือนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ไม่เคยบอกว่า “นรกสวรรค์ไม่มี เพราะพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์

การปฏิเสธนรกสวรรค์ อิทธิปาฏิหาริย์ การเวียนว่ายตายเกิด เป็นเพราะ “ขุนศึกทรยศ” ของศาสนาพุทธเองนี่แหละ ที่ไปเชื่อวิทยาศาสตร์ แล้วก็ปฏิเสธกันเสียเอง

อย่างไรก็ดี ในกรณีศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์นั้น ผมขอบอกไว้ก่อน ณ ตรงนี้เลยว่า ไม่เหมือนกับกรณีของศาสนาคริสต์กับวิทยาศาสตร์

ศาสนาคริสต์กับวิทยาศาสตร์เป็นคู่อาฆาต เป็นคู่สงครามกันอย่างจริงจัง รบราฆ่าฟันกันจริงจัง  ขอบอกก่อนว่า  ไม่ใช่ว่านักวิทยาศาสตร์ไปฆ่าพระในศาสนาคริสต์  แต่พระในศาสนาคริสต์เองนั่นหละ ซึ่งมีอำนาจมากในสมัยนั้น เป็นฝ่ายฆ่าฟันนักวิทยาศาสตร์

ยกตัวอย่างเช่น หลวงพ่อ จิออร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno) นักดาราศาสตร์และนักบวชชาวอิตาลี ถูกเผาทั้งเป็น เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1600  คาหลักประหารเลยทีเดียว เพราะสอนว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล ไม่ใช่โลกตามคำสอนของศาสนาคริสต์

กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง ก็ถูกศาลพระศาสนาคริสต์ตัดสินว่า มีความผิด กาลิเลโอถูกลงโทษด้วยการถูกขังอยู่ในบ้านของเขา แบบ “House Arrest” ตลอดชีวิต 

ทางฝ่ายศาสนาเพิ่มมายอมรับว่า กาลิเลโอเป็นฝ่ายถูก และขอโทษเมื่อไม่นานมานี้เอง

เรื่องนี้ เราก็ต้องยอมรับคำสอนของศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวกับจักรวาลนั้น ผิดจริงๆ เช่น เชื่อว่าโลกแบน เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เชื่อว่าจักรวาลหยุดนิ่ง เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น